SRIYA SUWANNARAT AIA FA MDRT Financial Advisor | Tel: 06-2996-5956

ประเมินความคุ้มครองที่ควรมีอย่างไร เพื่อให้อุ่นใจว่าประกันที่มีจะเพียงพอ

ประเมินความคุ้มครองที่ควรมีอย่างไร เพื่อให้อุ่นใจว่าประกันที่มีจะเพียงพอ

สำหรับคนที่มีความพร้อมด้านการวางแผนชีวิตและการเงินอย่างเรา “การทำประกันชีวิต” อาจไม่ใช่เรื่องไกลตัว หลายคนอาจมีกรมธรรม์อยู่แล้วหลายฉบับ หลายคนอาจคิดว่าได้เตรียมไว้พอแล้ว แต่ในความเป็นจริง คำว่า “มีพอแล้ว” ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนกรมธรรม์ที่เราทำหรือจำนวนเบี้ยที่เราจ่ายไป แต่อยู่ที่ “ความคุ้มครองที่เหมาะสม” ในแต่ละด้าน ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนตามสถานะและโจทย์ของชีวิตที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละคน

ดังนั้น เราจึงควรมาประเมินความคุ้มครองที่เหมาะสมในแต่ละด้านที่เราควรมี เทียบกับความคุ้มครองที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน ว่ามีเหมาะสมเพียงพอแล้วหรือไม่ ด้วย “การตรวจสุขภาพทางการเงิน” ตามความคุ้มครอง 6 ด้าน ดังนี้

1. ความคุ้มครองชีวิต
ความคุ้มครองชีวิตควรมีให้ครอบคลุมภาระทางการเงินที่มีอยู่ โดยคำนวณทุนประกันจาก ค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวและคนในอุปการะของเราในแต่ละปี + ค่าเล่าเรียนบุตรในอนาคต + ภาระหนี้สินที่มี เช่น ภาระผ่อนบ้านและรถ + เงินให้ธุรกิจปรับตัว (สำหรับกรณีเจ้าของธุรกิจ) หรืออาจจะรวมถึงเงินมรดกอีกซักก้อนที่เราต้องการทิ้งไว้ให้คนที่เรารัก ทั้งหมดหักลบกับเงินออม/เงินลงทุนทั้งหมดที่มีอยู่ของเรา เพื่อดูว่า หากวันหนึ่งเราจากไป เราทิ้งทรัพย์สินไว้เพียงพอกับภาระทางการเงินที่เรามีอยู่หรือไม่ แล้วจึงทำประกันชีวิตให้ทุนประกันเพียงพอกับส่วนที่ยังขาดอยู่นั่นเอง

2. ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล
เราควรทำประกันสุขภาพ ที่เป็นสัญญาเพิ่มเติมที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ให้ครอบคลุมเพียงพอกับค่ารักษาของโรงพยาบาลที่เราและลูกคาดว่าจะใช้บริการ โดยค่ารักษาพยาบาลส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ค่าห้องรวม (ค่าห้อง + ค่าอาหาร + ค่าบริการพยาบาล + ค่าบริการโรงพยาบาล) ค่าผ่าตัดกรณีร้ายแรง ค่ายารักษา ดังนั้นเพื่อความอุ่นใจ จึงควรเลือกประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบที่มีวงเงิน “เหมาจ่าย” ให้เพียงพอกับค่ารักษาที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเอาไว้ก่อน

3. ความคุ้มครองโรคร้ายแรง
เราควรมีวงเงินที่เป็นเงินก้อนเมื่อตรวจพบโรคร้ายแรง ให้เพียงพอกับค่ารักษาพยาบาลโรคร้ายแรง ตามระดับค่ารักษาของโรงพยาบาลที่คาดว่าจะใช้บริการ รวมไปถึงเพื่อไว้รองรับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น เมื่อต้องออกจากโรงพยาบาลมาพักรักษาตัวในระยะเวลาหนึ่งด้วยเช่นกัน โดยทั่วไป วงเงินส่วนนี้ก็ควรมีไม่ต่ำกว่า 1 ล้าน ถึง 5 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับระดับค่ารักษาของแต่ละโรงพยาบาล

4. ความคุ้มครองอุบัติเหตุ
ความคุ้มครองอุบัติเหตุ ควรครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลเมื่อบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ทั้งกรณีเป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก รวมถึงกรณีทุพพลภาพ และเสียชีวิต เนื่องจากอุบัติเหตุ ซึ่งวงเงินค่ารักษาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ อย่างน้อยก็ควรมีไม่ต่ำกว่า 30,000 – 50,000 บาทต่อครั้ง (สำหรับผู้ที่ไม่มีประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษา ก็ควรจะต้องมีวงเงินค่ารักษาที่สูงกว่านี้) ส่วนวงเงินสำหรับกรณีทุพพลภาพและเสียชีวิต ก็ควรมีอย่างน้อยให้เพียงพอไว้ให้เราใช้จ่ายยามปรับตัวเมื่อต้องเป็นคนทุพพลภาพต่อไปอย่างน้อยประมาณ 5 ปี โดยทั่วไปวงเงินส่วนนี้ก็ควรมีไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท

5. ความคุ้มครองชดเชยรายได้
สำหรับผู้มีโอกาสขาดรายได้จากการทำงาน หากต้องเจ็บป่วยจนไม่สามารถทำงานได้ ก็ควรมีค่าชดเชยรายได้ต่อวัน เทียบเท่ากับ รายได้ที่เราสามารถหาได้ต่อวันโดยเฉลี่ย ตัวอย่างเช่น สำหรับคนที่ทำงานอิสระ มีรายได้ต่อเดือนประมาณ 60,000 บาท ก็ควรมีค่าชดเชยรายได้ไม่น้อยกว่า 2,000 บาทต่อวัน (60,000 บาทต่อเดือน) เพื่อชดเชยรายได้เฉลี่ยที่เสียไปต่อวัน หากต้องหยุดงานนั่นเอง

6. แผนการออมเงินเพื่อการศึกษาบุตรและการเกษียณ
คือการมีเงินทุนที่เพียงพอ สำหรับเตรียมเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาของบุตร รวมถึงสำหรับไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณ

สำหรับการศึกษาบุตร ก็ต้องประเมินจากค่าเทอมและค่าธรรมเนียมต่างๆ ของสถานศึกษาที่ต้องการส่งบุตรไปเรียนตั้งแต่ปัจจุบัน จนจบการศึกษาในระดับที่ต้องการ ว่าต้องเตรียมทั้งหมดเท่าไหร่

ส่วนเงินใช้ยามเกษียณ ก็อาจประเมินจากค่าใช้จ่ายที่ต้องการใช้หลังเกษียณต่อเดือน x 12 x จำนวนปีที่คาดว่าจะต้องใช้ชีวิตหลังเกษียณ เป็นอย่างน้อย เช่น ต้องการใช้หลังเกษียณเดือนละ 50,000 บาท ตั้งแต่อายุ 60 จนถึง 85 ปี ก็ควรมีเงินเกษียณอย่างน้อย 50,000 x 12 x 25 = 15,000,000 บาท เป็นต้น

ดังนั้น อย่ามีประกันไว้ “แค่มี” แต่ต้องรู้จักประเมินและทบทวนว่า ประกันที่เรามีอยู่ครอบคลุมเพียงพอแล้วหรือยัง จ่ายเบี้ยประกันมากเกินไปไหม แบบประกันที่ทำอยู่ตรงตามความจำเป็นแค่ไหน หากจ่ายเบี้ยประกันมาก แต่ความคุ้มครองยังไม่เพียงพอ ก็อาจจะต้องบริหารกรมธรรม์ใหม่ ด้วยการสรุปกรมธรรม์และปรับเปลี่ยนแบบประกันให้เหมาะสม ก็จะสามารถช่วยให้มีความคุ้มครองเพิ่มขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันเพิ่มขึ้น หรืออาจจะลดลงได้อีกด้วย

เพื่อให้มั่นใจว่าความคุ้มครองที่คุณมีเพียงพอกับแผนการใช้ชีวิตที่คุณวางไว้ ติดต่อที่ปรึกษาด้านประกันชีวิตและการเงินเพื่อช่วยวางแผนคุ้มครองชีวิตรอบด้านให้คุณ

หมายเหตุ

ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาและทำความเข้าใจในเอกสารเสนอขายก่อนตัดสินใจทำประกันภัย เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้ว โปรดศึกษารายละเอียด ข้อกำหนดและเงื่อนไขในกรมธรรม์
ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์

We will be happy to hear your thoughts

Leave a reply

SRIYAWEALTHPLAN.COM : บริการวางแผนการเงินออนไลน์ โดยที่ปรึกษาทางการเงิน มืออาชีพ
Logo